ดาวน์โหลดแบบฟอร์มรายงาน  NMAS  และ SOP

โดย สปป.ศทช.ศบท.

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://drive.google.com/drive/folders/1LZthO358iDPUVNwinH2TmtZ7K37HzbK2?usp=drive_link

https://drive.google.com/drive/folders/1k72BgjIxvah1fUk2Hb2jJKoYMJ00FXWo?usp=drive_link

https://drive.google.com/drive/folders/1tBytl3q_UuRo7KxKMIWRsY2ltFl8uXUZ?usp=drive_link

https://www.mineactionstandards.org/standards/

 

 

 

     พ.อ.สำเร็จ เนียมศรี หน.สปป.ฯ และคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลการควบคุมคุณภาพ, คณะเครือข่ายสหวิทยาการ ราชบัณฑิตยสภา พร้อม พล.อ.ดร.วสุ ชนะรัตน์ และ ผุ้แทนจากอำเภอบ่อไร่, เจ้าหน้าที่ป่าไม้, อบต.นนทรีย์, และทหารพราน ฟังบรรยายสรุปจาก หน.ชุดปฏิบัติงานและเข้าร่วม QC แบบมีส่วนร่วมพร้อมกับประชาชนในพื้นที่ ในการตัดสินใจยกเลิกพื้นที่อันตรายต้องสงสัย SHA 276 - 02 บ.มะม่วง ต.นนทรีย์ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ขนาดพื้นที่ 5,415,759 ตร.ม. หน่วยได้เข้าดำเนินการปรับลดพื้นที่ด้วยวิธี Land Release โดยการสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค NTS และการสำรวจตามหลักฐาน EBS เมื่อ ๒๖ มี.ค.๖๒

- เหตุผลในการยกเลิกพื้นที่

  1. เป็นพื้นที่ลาดชันเกิน 60 องศา (ไม่มีข้อมูลการวางทุ่นระเบิด) รวมทั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าว ไม่ใช่พื้นที่การสู้รบหลักระหว่าง เขมรฝ่ายรัฐบาลและเขมรแดง
  2. เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ของพราน หรือผู้หาของป่าอย่างกว้างขวาง
  3. เป็นพื้นที่ ที่ทหารพราน และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ใช้ในการลาดตระเวนเส้นทางเป็นประจำ
  4. เป็นพื้นที่ ที่ผ่านกระบวนการการสำรวจตามหลักฐานทั้ง 4 กิจกรรมแล้ว
  5. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู่ใหญ่บ้าน ได้เคยขึ้นไปหาของป่าในพื้นที่ประจำ ปรากฏไม่โดนระเบิด และไม่พบเห็นระเบิดสามารถประกาศรับรองให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย และ ส่งมอบพื้นที่ให้กับเจ้าของพื้นที่ต่อไป

 - พล.อ.ดร.วสุ  ชนะรัตน์ และ ประธานเครือข่ายสหวิทยาการฯ ได้ให้คำแนะนำดังนี้

  1. พื้นที่ จ.ตราด น่าจะมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในการเรียนรู้ เรื่องอันตรายจากทุ่นระเบิดเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจ
  2. ถ้ามีการพัฒนาการเก็บกู้ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านจะนำไปสู่การร่วมมือพัฒนาอาเซียนด้วยกัน
  3. การใช้เทคโนโลยีติดไมโครชิพให้กับช้าง วัว ควาย ในป่าเป็นเครื่องมือในการติดตามสัตว์ป่า ว่าโดนอันตรายจากทุ่นระเบิดในพื้นที่หรือไม่